ปวดหัว ไม่รู้เป็นอะไร

  • 23 พ.ค. 2566
  • 3658
หางาน,สมัครงาน,งาน,ปวดหัว ไม่รู้เป็นอะไร


"ปวดหัว” มักจะได้ยินคำนี้บ่อย ๆ จากคนรอบข้าง บางคนเครียดจากการหางาน สมัครงานไม่ได้  เครียดจากครอบครัว  การทำงาน เครียดจากเพื่อนร่วมงาน เครียดจากสิ่งแวดล้อม เครียดจากสถานการณ์ต่างเฉพาะหน้ามากมาย

            หลากหลายสาเหตุ และมักเข้าใจกันว่า “กินยาเม็ดเดียวก็หาย”

สาเหตุของอาการปวดหัวมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยในคนสูงอายุจะมีโอกาสเกิดโรคที่มีสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดอักเสบ มากกว่าวัยรุ่นและวัยทำงานซึ่งมักมีสาเหตุจากไมเกรน ปวดหัวชนิดตึงตัว และปวดหัวจากความเครียด

อย่างไรก็ตามในวัยทำงานซึ่งถือว่าเป็นวัยที่มีภาระและความรับผิดชอบสูง หากมีอาการปวดหัวมารบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันก็เหมือนกับฝันร้ายในขณะตื่นเลยทีเดียว

อาการปวดหัวที่เป็นกันบ่อย คือ ปวดหัวชนิดตึงตัว จะมีอาการมึน ๆ ตึง ๆ บีบรัดบนหัว มีอาการปวดกระบอกตา มึนเวียนร่วมด้วย บรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป แต่มีรายที่เป็นแบบเรื้อรัง อาจถึงขั้นติดยาแก้ปวดได้ โดยในเบื้องต้นเกิดจากคาดว่า มีความเครียดเป็นส่วนกระตุ้น แต่ยังไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้นวิธีการป้องกัน คือการพักผ่อน ออกกำลังกาย ผ่อนคลายให้มาก ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดอาการปวดหัวชนิดนี้ได้ 

ปวดหัวแบบไมเกรน จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นมาจากการปวดหัวชนิดตึงตัว มีคลื่นไส้ อาเจียน บางรายเป็นไข้เลยมี ซึ่งการปวดหัวชนิดนี้ส่งผลผลต่อการหดและขยายตัวของหลอดเลือดสมอง อาจถึงขั้นสมองตีบ หรือเป็นอัมพาตได้เลย

วิธีการป้องกัน คือ หลักเลี่ยง กลิ่นฉุน แสงจ้า เสียงดัง อากาศหนาวหรือร้อนจนเกินไป นอนผิดเวลา นอนมากหรือน้อยเกินไป ความเครียด อาหารบางชนิด เช่น เนื้อที่ผ่านการถนอมอาหาร หรือเนย เป็นต้น แต่ในรายที่รุนแรงจนทนไม่ไหว ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

ปวดหัวเพราะจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป เนื่องจากแสงสว่างที่จอจะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็งตัว มีอาการปวดหัว มึนเวียน ระคายเคืองตา การมองพร่ามัว อาจขยายลามไปถึงการเป็นต้อหินได้อีกด้วย

วิธีการหลีกเลี่ยง คือ ปรับความสว่างของจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม บริหารดวงตาโดยการละสายตาจากคอมพิวเตอร์และกลอกตาไปมา 10-20 วินาที ทุก ๆ 20 นาที หรือกะพริบตาบ่อย ๆ ก็จะช่วยอาการตาแห้งได้ และลดความตึงเครียดจากการทำงานได้ในระดับหนึ่ง

โรคปวดหัวเพราะดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟมากเกินไป เช่น กาแฟ ชา โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เสมือนการเสพติดคาเฟอีน เมื่อหยุดดื่มจะเกิดอาการปวดหัว กระตุ้นอาการปวดหัวชนิดตึงตัว และไมเกรน ทำให้ผลของอาหารมีความรุนแรงมากขึ้น

อาการปวดหัว ภัยใกล้ตัวที่บางคนมองข้าม ทั้งวันทำงาน และวัยกำลังหางาน อาจส่งผลถึงร่างกาย ระบบประสาทสมอง ร่างกายส่วนอื่น เมื่อใครมีอาการ JOBBKK.COM ขอแนะนำว่า จงเร่งสำรวจตัวเองโดยเร็ว และหาวิธีแก้ไข รักษา ให้อาการดีขึ้น ที่สำคัญ “อย่าเป็นบ่อย ๆ จะดีที่สุด”
 

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top