ผู้สมัครงาน
หลายคนอาจคิดว่า “Gen Z อยากรวยกว่ารุ่นพ่อแม่และพร้อมทำงานหนัก” แต่ผลสำรวจสุดช็อก! พบว่า พนักงาน Gen Z มีความรู้สึกเหนื่อยล้าที่เพิ่มมากขึ้นในสายงาน Frontline เช่น ค้าปลีก การดูแลสุขภาพ และบริการ หรืองานที่มีข้อกำหนดตายตัวทั้งสถานที่และเวลาทำงาน
ผลสำรวจล่าสุดจากบริษัท UKG ร่วมกับ Workplace Intelligence ที่น่าตกใจ! ความคิดเห็นจากพนักงานกว่า 13,000 คนใน 11 ประเทศ รวมถึงพนักงาน Gen Z อายุ 18-27 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังเริ่มต้นทำงานและต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ พบว่ากว่า 83% ของพนักงาน Gen Z ที่ทำงานในสายงาน Frontline รู้สึกหมดไฟแล้ว! ขณะที่พนักงานในกลุ่มเดียวกันที่ทำงานสายอื่นๆ ยังมีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า
งานที่ยืดหยุ่น คือคำตอบของ Gen Z
Gen Z เติบโตมากับเทคโนโลยีในโลกไร้พรมแดน หรือโลกที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้การทำงานที่มีเวลาและสถานที่ตายตัวไม่ค่อยเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในการทำงานมาก แต่ในสายงาน Frontline ที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ได้เลย เมื่อไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ก็ทำให้พวกเขารู้สึกไม่พอใจและมีทัศนคติไม่ดีต่องานในที่สุด
“เงินเพิ่ม” ไม่สำคัญเท่า “วันหยุดเพิ่ม”
ผลสำรวจที่น่าสนใจ! 58% ของพนักงาน Gen Z มองว่าการมีวันหยุดเพิ่มสำคัญกว่าการได้เงินเดือนสูงขึ้นซะอีก พวกเขารู้สึกว่าการได้พักจริงๆ ช่วยฟื้นฟูพลัง ลดความเครียด เพื่อทำให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ อีก 29% ก็ยอมสละโอกาสเลื่อนตำแหน่งเพื่อแลกกับวันหยุดเพิ่มอีกหนึ่งสัปดาห์
Gen Z มองว่า งานไม่ควรแลกมาด้วยสุขภาพ! พวกเขายอมให้ความสำคัญกับวันหยุดและการดูแลสุขภาพมากกว่าเงินเดือนสูงๆ เพราะรู้ว่าไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการมีความสุขและสุขภาพที่ดี ยิ่งไปกว่านั้น 36% ของพวกเขาบอกเลยว่า ถ้างานทำให้สุขภาพแย่ลง พวกเขาก็พร้อมที่จะลาออกทันที!
การหมดไฟ ในกลุ่มพนักงาน Gen Z
การหมดไฟ (Burnout) ไม่ใช่ปัญหาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่สำหรับ Gen Z ที่เพิ่งเริ่มทำงานในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว กลับพบว่าพวกเขารู้สึกหมดพลังเร็วและแรงกว่าที่คิด! สัญญาณที่น่าเป็นห่วงคือ Gen Z รู้สึกรับมือไม่ไหวแล้วกับความเครียด ความเหนื่อยล้าในที่ทำงาน เพราะต้องทำงานตามเวลาที่กำหนด ไม่มีความยืดหยุ่น และที่สำคัญ ไม่มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ!
การหมดไฟไม่ใช่แค่ปัญหาส่วนตัว แต่มันยังสะท้อนถึงความท้าทายใหญ่ขององค์กรในการรักษาพนักงาน ถ้าบริษัทไม่ปรับตัว ก็อาจเสี่ยงที่จะสูญเสียพนักงานที่มีศักยภาพไปอย่างน่าเสียดาย
ปรับตัวเพื่อรักษาพนักงาน Gen Z
อยากรักษาพนักงาน Gen Z ไว้? องค์กรต้องเข้าใจพวกเขาจริงๆ บริษัทต้องปรับตัวเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะกับ Gen Z และทำให้พวกเขารู้สึกว่าอยากอยู่ที่นี่!
✅ เพิ่มความยืดหยุ่นในเวลาทำงาน – หากเป็นไปได้ ควรปรับเวลาทำงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น หรือเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานได้ตามสะดวก
✅ จัดสรรวันหยุดพักผ่อนอย่างเพียงพอ – การให้วันหยุดที่เพียงพอจะช่วยให้พนักงาน Gen Z มีเวลาในการพักผ่อนและกลับมาทำงานได้เต็มที่
✅ ใส่ใจด้านสุขภาพจิตและกาย – จัดสรรโปรแกรมช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อป้องกันการหมดไฟ
✅ สร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา – Gen Z ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง องค์กรสามารถเสริมโปรแกรมฝึกอบรมหรือโอกาสในการพัฒนาทักษะให้มากขึ้น
Gen Z มีสไตล์การทำงานที่แตกต่างจาก รุ่นอื่นๆแบบสุดๆ หากอยากทำงานร่วมกันแบบ Win-Win องค์กรต้องเปิดใจคุยตรง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่น้อง ๆ ต้องการ และบอกสิ่งที่องค์กรต้องการอย่างชัดเจน เพื่อให้การทำงานราบรื่นและเกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย
ขอบคุณข้อมูลดีๆ
และ https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1134671
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
อัปเดตความรู้สำหรับคนหางาน คนทำงาน สามารถติดตามได้ที่ https://jobbkk.com/go/kr0ws
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด