ผวจ.นครฯ ร่วมประชุมพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน พ.ศ.2562 - 2565

  • 11 พ.ค. 2563
  • 2561
หางาน,สมัครงาน,งาน,ผวจ.นครฯ ร่วมประชุมพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน พ.ศ.2562 - 2565

วันนี้ (12 กันยายน 2561) นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะ ได้ประชุมร่วมกับนายกอบศักดิ์  ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) กรุงเทพมหานคร เพื่อหารือเรื่องการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน พ.ศ. 2562-2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ณ จังหวัดชุมพร ที่เห็นชอบโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

 

 

โดยเริ่มในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้จะเชื่อมโยง 4 จังหวัดและเขื่อมโยงไปยังจังหวัดอื่น ๆ และโครงการเร่งด่วน คือโครงการพัฒนาท่าเรือระนองให้เป็นประตูท่าเรือออกสู่ตะวันตก คือจากระนองไปสู่ท่าเรือพม่า อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ โดยจะมีเส้นทางรถไฟทางคู่ที่เชื่อมจากพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มายังชุมพร และต่อจากชุมพรมายังระนอง

ส่วนพื้นที่ จ.สุราษฎรธานี และนครศรีธรรมราช จะพัฒนาเป็นแหล่งเกษตรที่จะเป็นแหล่งผลิตและแปรรูป

นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า พื้นที่ จ.สุราษฎรธานี และนครศรีธรรมราช ถูกกำหนดให้พัฒนาเป็นแหล่งเกษตรที่จะเป็นแหล่งผลิตและแปรรูป (Bio-Based & Processed Agricultural Products) โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

1.สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต (R&D , สนับสนุนให้สถาบันการศึกษามีบทบาทร่วมกับเอกชน , พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านปาล์มน้ำมัน , ยกระดับสถาบันในพื้นที่เป็นศูนย์การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและยางพารา)

2.สนับสนุนการผลิตด้านการเกษตรครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (ศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปปาล์มน้ำมัน , เขตอุตสาหกรรม แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร : ยางพารา ผลไม้ สัตว์น้ำ) โดยประสานความร่วมมือกับเมียนมาร์ด้านการประมง

3.สนับสนุนทางการเงินและมาตรการทางภาษี (ลดภาษีสำหรับอุปกรณ์ R&D และหักภาษีเป็นกรณีพิเศษ , สนับสนุนเงินกู้ , การค้ำประกันเงินกู้)

4.บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน (การศึกษาอุปสงค์และอุปทานน้ำ , การพัฒนาแหล่งน้ำ , การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ)

5.พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ให้ทุนการศึกษา , ยกระดับความรู้ความสามารถเกษตรกรรายย่อยให้สามารถนำผลการทำ R&D มาเป็นผลงานทางวิชาการร่วมกับเอกชนได้ , การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา)

 

ตัวอย่างโครงการสำคัญ

- โครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับปาล์มและยางพารา

- โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูป น้ำมันปาล์มขั้นสูง

- โครงการยกระดับความสามารถของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในด้านวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปาล์มและยางพารา

- โครงการสนับสนุนการต่อยอดอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้

- โครงการศึกษาเพื่อกำหนดที่ตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ

- โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

- โครงการสนับสนุนการเพาะพันธุ์และการเลี้ยงสัตว์ทะเลเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง เช่น กุ้งมังกร หอยมุก เป็นต้น

- โครงการศึกษาตลาดส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล

 

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top