ผู้สมัครงาน
แท้จริงแล้วฝ่าย HR (Human Resource) หรือทรัพยากรบุคคล คือส่วนงานที่สนับสนุนให้บุคลากรเกิดการพัฒนา พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จ โดยการเป็นคู่คิดทางธุรกิจหรือ HRBP (Human Resource Business Partner) โดยต้องรู้ว่าจะสรรหาคน พัฒนาคน และรักษาคน อย่างไรให้ตอบโจทย์องค์กร HR จึงเป็นคนสำคัญที่ขาดไม่ได้หากต้องการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
แต่ผู้ปฏิบัติในตำแหน่ง HR รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานหลายองค์กร กลับไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการดังกล่าว ผลการทำงานของหน่วยงาน HR จึงไม่ส่งผลกระทบทางบวกให้กับองค์กรและพนักงานได้มากพอ HR จึงกลายเป็นอาชีพที่เติบโตยากหรือไม่โตเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้มาจากการวางตำแหน่งของตนเองเป็น 3 แบบ คือ
1 ทำแต่งานประจำ (Routine) : เช่น เก็บประวัติพนักงาน ,ตรวจสอบการขาดลามาสาย ,ทำใบเตือน ,ทำเรื่องคนเข้าออก หรืองานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งแท้จริง HR ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ ทิ้งไม่ได้อยู่แล้วค่ะ แต่ถ้าเข้ามาทำงานผ่านไป 1 เดือน หรือหลายปีแล้ว ก็ทำหน้าที่อยู่แค่นี้ ก็แทบไม่ได้พัฒนาทักษะอะไรเพิ่มเลย องค์กรก็ไม่เห็นผลงานที่แสดงถึงศักยภาพและพัฒนาการใด ๆ เช่นนี้ หากพนักงานและองค์กรเองไม่คิดปรับเปลี่ยนเนื้องานหรือยกระดับงานให้สูงขึ้น HR ก็จะได้แค่ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ
2 กลมกลืนได้กับนโยบายองค์กรที่ไม่ทันสมัย : แม้ความต้องการ พฤติกรรมการทำงาน หรือวิถีชีวิตคนทำงานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่มีโควิดเข้ามา ช่วงอายุงานของคนทำงานลดน้อยลงตามความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ มีการรับคนรุ่นใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ แต่นโยบายองค์กรที่เคยใช้มาตั้งกี่ปีแล้วไม่รู้ ปัจจุบันก็ยังนำมาใช้อยู่ ไม่มีการนำมาทบทวนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์และพฤติกรรมคนทำงานที่เปลี่ยนไป ซึ่งผู้บริหารเองอาจไม่ได้ลงมามองถึงเรื่องนี้ และ HR ก็ไม่ได้คิดวิเคราะห์หรือนำเสนอที่จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย เช่นเรื่องเวลาและสถานที่ทำงาน เป็นต้น หากไม่มีการยืดหยุ่นเลย ก็ยากที่จะดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาทำงาน หรือแม้หามาได้ เขาก็อยู่ไม่นาน HR ก็ได้แค่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือคอยหาคนใหม่ ทำเรื่องออก หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุเลย
3 HR ทำหน้าที่คอยรับคำสั่งและทำตาม : เสมือนเป็น Messenger ที่รอรับคำสั่งแล้วทำตามเท่านั้น เช่น ต้นสังกัดส่งข้อมูลมาให้หาพนักงานเพิ่ม HR ก็แค่นำข้อความไปลงประกาศ แล้วรอคนส่งเรซูเม่มา ไม่มีการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ว่าอัตราที่รับเพิ่มมีความจำเป็นหรือไม่ ข้อมูลที่ได้รับครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอเพียงใด ทำให้งาน HR เป็นเหมือนคนคอยรับคำสั่งแล้วทำตามเท่านั้น ไม่ได้ดูแลภาพรวมเชิงนโยบายหรือไม่มีบทบาทของการบริหารบุคลากรหรือบริหารองค์กรเลย ผู้บริหารจึงไม่เห็นความสำคัญมากนัก เพราะลักษณะงานที่ทำนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรเท่าไร
ตามที่กล่าวไปแล้วว่า HR คือคู่คิดธุรกิจที่สำคัญต่อองค์กร แน่นอนว่าเป็นอาชีพที่มีโอกาสเติบโตแน่นอน หากลักษณะงานไม่จำกัดอยู่แค่ 3 ข้อนี้ แต่จะเป็นไปได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลในอาชีพนี้ว่าจะลุกขึ้นมาเรียนรู้และกล้าที่จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงรึเปล่า และที่สำคัญ HR ต้องหมั่นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งนี้องค์กรก็ต้องสนับสนุนด้วยนะคะ
HR แบบไหนที่องค์กรให้ความสำคัญ อ่านเพิ่มเติม >> https://jobbkk.com/go/e1GR6
ขอบคุณข้อมูล : อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center
Website : www.senmentor.com
Line : wisebrown
Tel : 081-820-9271
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
อีเมล : crm@jobbkk.com
Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด